วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความพยาบาทโดยแม่วัน(พระยาสุรินทราชา)

               “ความพยาบาท” ของแม่วันหรือพระยาสุรินทราชาเป็นผู้แปลและผู้ศึกษาประวัตินวนิยายไทยหรือวรรณกรรมปัจจุบันย่อมจะรู้จักดีในฐานะนวนิยายที่จบสมบูรณ์เรื่องแรกของไทย และนวนิยายแปลเรื่องแรกของไทยด้วย  ความพยาบาทฉบับภาษาอังกฤษหรือที่มีชื่อเต็มว่าVendetta!Or the Story of One Forgotten  นวนิยายที่แต่งโดยนักประพันธ์สตรีชื่อแมรี่    คอเรลลี่      วางตลาดในอังกฤษเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นนวนิยายเรื่องที่สองของเธอและส่งชื่อเสียงของเธอให้โด่งดังขึ้น หลังจากนวนิยายเรื่องแรกคือ A Romance in Two Worlds ประสบผลสำเร็จในฐานะนวนิยายของนักเขียนหน้าใหม่มาแล้วสิบสี่ปีหลังจาก Vendetta! ออกวางตลาดเป็นครั้งแรก นักเรียนไทยคนหนึ่งซึ่งเคยไปเรียนที่อังกฤษและมีความรู้ทางภาษาอังกฤษอย่างแตก ฉานก็นำเรื่องนี้มาแปลเป็นไทยเป็นครั้งแรกนักเรียนไทยคนนั้นคือ พระยาสุรินทราชาหรือแม่วัน  แม่วันแปลเรื่องนี้ด้วยภาษาสมัยใหม่ ไพเราะ ได้อรรถรส ได้อารมณ์สะเทือนใจอย่างดีเยี่ยม แต่ว่าท่านไม่ได้แปลหมดทั้งเรื่อง คงแปลเฉพาะเนื้อเรื่องอันเป็นหัวใจสำคัญการตัดรายละเอียดที่ท่านอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็นคือไม่เป็นที่เข้าใจของคนไทยในสมัยนั้นออกเสีย ส่วนที่ท่านตัดออกคือเนื้อหาการสะท้อนสังคมและการวิจารณ์สังคมอังกฤษอันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้
                                                                                                                                                                                                                  
                 เหตุที่ว่าแม่วันตัดบทวิพากษ์วิจารณ์ออกไปคงเป็นเพราะว่าท่านเห็นว่าเป็นรายละเอียดปลีกย่อยไม่         ได้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องโดยตรงและอีกอย่างหนึ่งสังคมอังกฤษหรือสังคมฝรั่งใดๆ ในสมัยนั้นเป็นเรื่องที่ห่างไกล             จากความเข้าใจของคนในสมัยที่ท่านแปลหนังสือออกมาให้อ่าน      ในสังคมไทยสมัยนั้นมีนักศึกษานอกที่รู้    จักสังคมฝรั่งอยู่ไม่มากและมีผู้อ่านหนังสืออย่างลักวิทยาหรือทวีปัญญาอยู่เพียงกลุ่มเล็กๆกลุ่มเดียว        ท่าน    จึงแปลเฉพาะเนื้อเรื่องส่วนที่เกี่ยวกับชีวิตของเคานต์ฟาบีโอ   โรมานี      ซึ่งได้อรรถรสครบถ้วนในส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญของเรื่องดร.แพรมนและนายตะวัน)    

                ร..๑๒0(..๒๔๔๔)  คือเมื่อ  ๕ปีมานี้เรื่อง “ ความพยาบาท ” ได้เริ่มปรากฏเป็นภาษาไทยใน นิตยสารชื่อ  “ลักวิทยา”    เป็นครั้งแรกจากฉบับนวนิยายภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ในความตามเข้าใจของ  ข้าพเจ้า     ถอดออกมาจากภาษาอังกฤษอย่างใกล้ชิดที่สุดเป็นเรื่องเเรกและเป็นเรื่องขนาดยาว      ซึ่งตามความเข้าใจของข้าพเจ้าอีกเหมือนกันว่าเป็นเรื่องจูงใจให้มีการแปลนวนิยายภาษาต่างประเทศเรื่องยาวๆ  เป็น  ภาษาไทยจนได้พบกันดาษดื่นในเวลาต่อมาจนตราบเท่าทุกวันนี้     “ความพยาบาท”    ที่ได้พิมพ์อยู่ในหน้า   หนังสือลักวิทยาเป็นสำนวนใหม่แก่คนไทยที่ไม่ชินแก่ภาษาอังกฤษมาได้อ่านเรื่องและรสใหม่ก็พากันสนใจ(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๑๒)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น