วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คุณค่าของวรรณคดี

คุณค่าของวรรณคดี
               คุณค่าในเชิงวรรณศิลป์
               ความพยาบาทของแม่วันแต่งด้วยคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและมีคุณค่าในเชิงวรรณศิลป์หรือศิลปะ  การแต่งหลายประการคือ
                  ๑. อุปมาโวหาร
              อุปมาโวหารคือ      การนำเอาสิ่งหนึ่งไปกล่าวเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่ง     เพื่อให้ผู้อ่านเกิดภาพอย่างใดอย่างหนึ่งในห้วงคิด  ตัวอย่างเช่น                                                                                                         
                -การเปรียบเทียบความงามของเคานเตส    โรมานีดังข้อความที่ว่า
              ในชั่วพริบตาเดียวนั้น     ความงามปรากฏแก่จักษุข้าพเจ้าหน้าๆหนึ่ง      หน้านั้นได้งามเปล่งประดุจดวงดาวแปล่งออกมาจากก้อนเมฆแห่งผล     หน้าๆนั้นที่มีแก้มอันแปล่งประดุจผลมะปราง     งามบริบูรณ์ที่หาตำหนิมิได้      ดวงตาทั้งสองข้างวาวและดำประดุจะมณีนิล     หน้านั้นที่มีปากบางเล็กและยิ้มยั่วยวนใจ      (พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๑๑)
               จากข้อความข้างตนจะเห็นได้ว่าผู้เขียนต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงภาพความงามของเคานเตส  โรมานีว่ามีความงดงามเพียงใด     ทุกส่วนภายในใบหน้ามีความงามที่หาที่ติมิได้ไม่ว่าจะเป็นใบหน้าที่ขาวเเปล่งประกายเหมือนกับก้อนเมฆ    มีแก้มที่มีสีสันเหมือนผลมะปราง       และมีดวงตาที่ดำเหมือนมณีนิล 
            
             -การเปรียบเทียบลักษณะของผมที่เปลี่ยนแปลงของฟาบีโอดังข้อความที่ว่า
              ผมซึ่งแต่ก่อนดำเป็นมันประดุจขนกาน้ำนั้น    บัดนี้ขาวเหมือนสำลีแต่ทว่ายังดกงามคงอยู่อย่างเดิม(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:)
              จากข้อความข้างต้นผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงไปของผมจากที่เคยดำเหมือนขนกากลับเปลี่ยนเป็นสีขาวเหมือนสำลี
              -การเปรียบเทียบโรคอหิวาตกโรคดังข้อความที่ว่า
              ในขณะที่อหิวาตกโรคเป็นประดุจเคียวอันคมอยู่กลางนาข้าวที่สุกแล้ว      เกี่ยวเอาชาวเมืองที่นับถือความสกปรกเป็นสรณะไปนับด้วยร้อยด้วยพัน(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๒๑)
               จากข้อความข้างต้นผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นภาพถึงความร้ายกาจของอหิวาตกโรคโดยนำไปเปรียบเทียบกับเคียวที่มีความคมที่นำไปเกี่ยวข้าว
                  ๒. สาธกโวหาร
              สาธกโวหารคือ     กระบวนการที่มุ่งให้เห็นความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบข้อความเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นต่างๆให้ชัดเจนนักแน่นตัวอย่างเช่น
              -ตอนที่ฟาบีโอกล่าวถึงหลักความจริงของเพื่อนแท้ดังข้อความที่ว่า
              เพื่อนที่ไหนให้ไปหาทั้งโลกเมื่อขัดสนจะกอบโกยเอาเงินเอาทองมาให้เป็นหนักเป็นหนาเป็นไม่มีแล้วหาไม่สุภาษิตจะวางไว้ทำไมว่า
                                            “เพื่อนกิน             สิ้นทรัพย์แล้ว          แหนงหนี
                                             หาง่าย                 หลายหมื่นมี             มากได้
                                             เพื่อนตาย            ถ่ายแทนชี                วาอาตม์
                                             หายาก                 ฝากผีไข้                   ยากแท้จักหา”
              เพื่อนยากนั้นเกือบจะว่าไม่มีเลยก็ว่าได้     จะมีบ้างก็น้อยเต็มที(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๕๕)
              จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่าผู้เขียนต้องการให้เห็นถึงความชัดเจนของเรื่องการคบเพื่อนจึงได้นำเอาสุภาษิตมาเป็นตัวอย่างประการการเรื่องราวที่ตนกล่าวถึง โดยจะเห็นว่าสุภาษิตที่ยกมาสอดรับกับส่วนที่ต้องการจะสื่อและยังจะมีบทสรุปตอนท้ายเกี่ยวกับกับคบเพื่อนอีกว่าเพื่อนนั้นในชีวิตจริงตายหายาก
              . บรรยายโวหาร
                  บรรยายโวหารคือ    การอธิบายเรื่องราวต่างๆอย่างละเอียดถี่ถ้วนตรงตามข้อเท็จจริง     การอธิบายกระบวนการ      การวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆรวมทั้งการนิยามหรืออธิบายความหมายของคำตัวอย่างเช่น
              -ตอนที่กล่าวถึงสาเหตุการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคดังข้อความที่ว่า
             ทุกคนย่อมทราบว่าฤดูร้อนในเมืองเนเปิลล์เมื่อค..๑๘๘๔เป็นอย่างไร     หนังสือพิมพ์ทุกประเทศย่อมกล่าวถึงความน่ากลัวอย่างมหันต์    อหิวาตกโรคได้เกิดขึ้นและได้แผ่ผ่านไปอย่างร้ายแรงดูราวพระยามัจจุราชต้องการสดมภ์มนุษย์ไปเข้ากองทัพเมืองผี     ฉะนั้นพลเมืองเป็นอเนกประการทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ไปถึงบ้านไม่ทัน      ลงนอนกลิ้งร้องครางครึมระงมคอยท่าความตายอยู่ข้างทางเดิน     โรคอันร้ายแรงอันนี้เกิดขึ้นเพราะความสกปรกโสมม     ซึ่งเจ้าพนักงานกรมสุขาภิบาลมิได้กระทำตามหน้าที่ละเลยไว้จนอากาศเสียจนเกิดโรคขึ้นติดต่อกันไปมากอย่างรวดเร็ว(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๑๘)
               จากข้อความข้างต้นผู้เขียนต้องการเขียนอธิบายเรื่องราวของอหิวาตกโรคว่ามีความร้ายกาจขนาดไหน     และสาเหตุใดจึงได้แพร่ระบาดกันอย่างรวดเร็วโดยทั้งนี้ผู้เขียนได้บรรยายไว้อย่างละเอียดว่าเป็นเพราะการบกพร่องต่อหน้าที่ของกรมสุขาภิบาลที่มิได้กระทำตามหน้าที่จึงทำให้ภายในเมืองสกปรกเป็นอันมากจึงทำให้โรคนี้แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว
                 ๔. พรรณนาโวหาร
              พรรณนาโวหารคือ     การกล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพตัวอย่างเช่น
                 -การพรรณนาถึงสภาพภูมิอากาศของเมืองดังข้อความที่ว่า
              ความร้อนในเมืองเป็นอย่างยิ่ง    แสงแดดแปลบเข้าตาราวกับไปทอมาจากแผ่นกระจกน้ำในอ่าวนิ่งราวกับอยู่ในอ่างควันและเปลวไฟที่ขึ้นจากปล่องภูเขาไฟนั้นน้อย      ดูเหมือนจะอายความร้อนซึ่งอยู่ภายนอกไม่กล้าแผลงอิทธิฤทธิ์พวยพุ่งพุขึ้นมากดังเคย     แต่ชั้นนกหคที่บินร่อนอยู่ตามอากาศและจับอยู่ตามพุ่มไม้ก็ไม่ใคร่จะร้องเพลงอันไพเราะ(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๒๐)
              จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่าผู้เขียนได้กล่าวถึงเรื่องราวของสภาพภูมิอากาศที่ร้อนอย่างมาก     โดยผู้เขียนจะใช้การนำสิ่งต่างๆมาประกอบให้ผู้อ่านเห็นภาพเหมือนตัวเองอยู่ในเหตุการณ์นั้น   ซึ่งสิ่งที่ผู้เขียนนำมากล่าวถึงจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกัน     จากบทความต้องการจะสื่อให้เห็นถึงอากาศที่ร้อนมากๆ   จึงได้นำข้อความที่กล่าวถึงน้ำที่เมื่อโดนแสงแดดก็จะเหมือนกระจกที่เมื่อเรามองไปจะทำให้รู้สึกแสบตา    และอ่างควันและเปลวไฟที่ขึ้นจากปล่องภูเขาไฟเมื่อเราได้อยู่ใกล้จะทำให้รู้สึกร้อนรู้สึกแสบผวหนัง
              -การพรรณนาถึงสวนดังข้อความที่ว่า
              ณ   ที่นั้นเป็นที่ร่มรื่นชื่นชุ่มใต้ต้นไทรใหญ่ใบหนาแผ่กิ่งก้านสาขาอันไพศาล     บังแสงอาทิตย์อันร้อนแรงมิให้ต้องซึ่งสกลกายได้และให้บริเวณนั้นก็ดาดาษไปด้วยบุบผชาติซึ่งมีกลิ่นหอมอันชื่นใจ   ขึ้นอยู่ออกแน่นหนาเป็นคณะเป็นหมู่ราวกับชาวสวนเขาได้จัดสรรปลูกไว้ในสวนแห่งพระราชา    ณ ฝั่งน้ำมีจระเข้ใหญ่หลายตัวขึ้นมานอนเผยปากรับซึ่งแสงพระอาทิตย์ตามนิสัยของมันหลับนิ่งสนิทไม่มีอาการไหวเคลื่อนอันใด(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๓๑)
               จากข้อความข้างต้นผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นภาพของสวนที่มีต้นไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาให้ความร่มเย็น    และบริเวณนั้นก็รายล้อมไปด้วยดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเหมือนมีใครมาจัดไว้เป็นสัดส่วนได้อย่างสวยงาม     
             .เทศนาโวหาร
              เทศนาโวหารคือ   กระบวนการที่ชี้ให้แจงอบรมสั่งสอนชี้ให้เห็นคุณและโทษของสิ่งต่างๆ  อย่างมีเหตุมีผล    การเขียนเทศนาโวหารที่ดีจึงประกอบด้วยชั้นเชิงในการอธิบายข้อความที่เป็นเหตุเป็นผล   มีหลักฐานอ้างอิงหรือมีตัวอย่างประกอบให้เห็นชัดเจน      เพื่อจูงใจ    โน้มน้าวใจให้ผู้อ่านเชื่อถือและปฏิบัติตามตัวอย่างเช่น
             -ตอนที่ฟาบีโอกล่าวถึงเรื่องราวของตนและเพื่อนพ้องดังข้อความที่ว่า
             ในโลกมนุษย์นี้     มนุษย์คนใดให้ดีเท่าดีเพียงใดก็ไม่สามารถที่จะมีความสุขอยู่อย่างยั่งยืนนานได้   พระเคราะห์ย่อมเข้าเสวยอายุเป็นเวรเปลี่ยนอยู่เสมอ      องค์ใดดีก็ดีไป     องค์ใดที่ร้านกาจฮิ!    แต่เพียงดูครั้งเดียว     คำพูดเดียว      สัมผัสนิดเดียว      สายสร้อยแห่งความประพฤติอันเคยนำมาซึ่งความสุขจะขาดออกเป็นท่อนๆ(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:)
            จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่าผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นถึงหลักสัจจะธรรมของชีวิตว่า     คนเราต่อให้เราทำดีแค่ไหนเราก็ย่อมจะมีทั้งความสุขความทุกข์ปะปนกันไป     ไม่มีใครในโลกที่ทั้งชีวิตจะมีแต่ความสุข

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น