คุณค่าที่แสดงให้เห็นสภาพชีวิต
๑. การแสดงสภาพชีวิตในแง่ของความเชื่อ
จากเรื่องความพยาบาทเนื้อเรื่องบางตอนจะเป็นการสะท้อนถึงการปฏิบัติตามความเชื่อต่างๆ
ดังตัวอย่างเช่น
-การการนับถือทูตผีดังข้อความที่ว่า
ในเรื่องที่ช่วยพลเมืองในคราวอับจนใหญ่นั้นยังฝังอยู่ในหัวใจของพวกที่คงแก่เรียนอยู่เป็นเนืองนิตย์พวกเนียโปลิตันกลัวความตาย
ถือผีถือสาง และรักตัวของตัวเองเป็นอย่างยิ่ง(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๓๑)
-การทำพิธีฝังศพดังข้อความที่ว่า
ท่านบาทหลวงที่ทีพระเดชพระคุณองค์นั้นอีกแล้ว
ท่านสมเพชว่าเขาจะฝังข้าพเจ้าเปล่าๆดุจะเป็นการไม่บังควร ต้องมีของในศาสนาเป็นสิ่งนำหนทางไปสู่ที่ชอบด้วย
บางทีเมื่อสวดมนต์สวดพรส่งวิญญาณข้าพเจ้าแล้ว ท่านจะเอาไม้กางเขนอันนั้นวางลงบนอก(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๔๘)
๒.การแสดงสภาพชีวิตในแง่ขนบธรรมเนียม
เป็นการแสดงถึงการใช้ชีวิตหรือขนมธรรมเนียม
ซึ่งเป็นลักษณะการประพฤติที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษลักษณะเช่นนี้ปรากฏในเรื่องเช่น
-การแห่แม่พระ)ดังข้อความที่ว่า
เดือนเมษายนเป็นเดือนที่เขาแห่แม่พระ ข้าพเจ้าจึงนึกได้ทันทีว่าเห็นจะเป็นขบวนแห่แม่พระแน่แล้วไม่มีอื่น ขี้เกียจหน่อยๆเห็นพระเห็นเครื่องแห่เห็นแกว่งกระเช้าเนื้อไม้กฤษณาขี้ธูปที่เผาไปเห็นไฟเทียนเรียงเป็นแถว เห็นพวกเด็กๆและผู้หญิงสาวๆคลุมผ้าโปร่งขาว(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๑๐)
-การจูบมือหญิงสาวที่มีอายุหรือยศสูงกว่าเสมอตัวไป
เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความเคารพและนับถือมากดังข้อความที่ว่า
หล่อนยืนมือมาให้จับ
ข้าพเจ้าก็ยกขึ้นถึงริมฝีปากหล่อนยิ้มเมื่อชักมือกลับไปและมองข้าพเจ้า (พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๑๔๘)
-ธรรมเนียมที่ฝรั่งผู้หญิงจะขึ้นรถ
ผู้ชายที่รู้จักอยู่ที่นั้นต้องช่วยพยุงดังข้อความที่ว่า
เมื่อว่าดังนั้นแล้วกระทำกิริยาลาออกจากห้อง
เฟอร์รารีกับข้าพเจ้ารีบเดินตามมาด้วยจนถึงรถซึ่งจอดอยู่ที่ประตู รถม้าคู่นั้นที่ข้าพเจ้าซื้อให้เมื่อวันเกิดหล่อน
พอถึงเจ้าเฟอร์รารีขยับเข้าไปใกล้จะพยุงหล่อนขึ้นรถม้า(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๑๗๘)
๓.การแสดงสภาพชีวิตในแง่พิธีกรรมต่างๆ
จากเรื่องความพยาบาทเนื้อเรื่องบางตอนจะเป็นการกล่าวถึงพิธีกรรมต่างๆ ถึงแม้ว่านวนิยายเรื่องความพยาบาทจะเป็นนวนิยายแปลก็ตามแต่ก็มีพิธีกรรมของประเทศไทยอยู่ด้วย
ซึ่งจากการศึกษาเนื้อหาของเรื่องจะเห็นได้ว่ามีการนำเอาพิธีกรรมของประเทศไทยมาเปรียบเทียบกับชาติตะวันตกตัวอย่างเช่น
-พิธีฌาปนกิจ
พิธีฌาปนกิจคือ พิธีกรรมทางศาสนาพุทธของไทยเป็นการนำซากศพของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วไปเผาในด้วยเปลวเพลิงดังข้อความที่ว่า
ควรท่านจะส่งไปวัดเข้าเมรุทำฌาปนกิจเสีย
นั่นแหละท่านจึงควรเชื่อเอาเป็นแน่ได้ว่าคนที่ถูกเผานั้นถึงแก่กรรมจริง มิเช่นนั้นจะไม่ทรามว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป!
การทำฌาปนกิจเป็นการดีที่สุดและเป็นทางเดียวเท่านั้นไม่สกปรกและทั้งเซฟ ทำไมคนทั้งโลกไม่เอาเยื่องย่างไทย?
การที่ชำระล้างทรากศพของผู้ที่เรารัก(หรือแกล้งทำรัก)ด้วยเพลิงดีกว่าที่จะเอาไปฝังสุ่มๆ
หรือเรียงลำดับเข้าไว้ในห้องซุ้ยที่เย็นชื้นแฉะฉะนั้น
มีสัตว์ต่างๆนานาอยู่ในพื้นดินอุดมด้วยสิ่งที่น่าเกลียดน่าชังไม่น่าจะออกชื่อ—หนอนตัวยาวๆ
สัตว์ที่ตาบอดและมีปีกแต่บินไม่ได้
มีแมลงที่เกิดจากน้ำเหลืองสัตว์ที่ท่านเห็นเข้าและต้องหนีเท่ากับเห็นเสือ โอ่ท่านผู้หญิงผู้อ่อนแอมันจะต้องทำให้ดมผิวมะกรูดและถึงท่านก็ดีท่านผู้ชายผู้มีเรี่ยวแรงมันจะทำให้ท่านขนพองสยองเกล้า
แต่มีสิ่งที่ร้ายกว่านั้นอีกมากในพิธีฝังศพอย่างฝรั่ง สิ่งนั้นคือการไม่แน่ต่างว่าถ้าเราหย่อนหีบที่ใส่ศพของผู้ที่รักแห่งเราลงไปในห้องซุ้ยหรือหลุมต่างว่า ถ้าภายหลังเวลาที่เราแต่งตัวเครื่องไว้ทุกข์และทำหน้าให้จ๋อยเป็นที่โศกเศร้าสำรวมอิริยาบถไม่ให้รื่นเริง
ต่างว่าเผื่อการที่นำไปแล้วนั้นยังไม่เป็นที่พอใจต่างว่า
ที่ที่เราฝังศพไว้นั้นจะมีที่กั้นคือประตูหรือปากหลุมไม่แข็งแรงนักต่างว่ามีเทพยดามาทำลายหีบที่ใส่ศพอันแน่นหนานั้นให้พินาศไป
ต่างว่าเพื่อนเราที่เราเชื่อว่าตายแล้วจะไม่ตายและกลับมาท้าทายต่อความรักของเราใหม่ เราไม่เสียใจหรือว่าไม่เอาอย่างคนไทยในการกระทำฌาปนกิจ(พระยาสุรินทราชา,๒๕๑๔:๔-๕)
จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยเมื่อมีผู้ที่ถึงแก่กรรมบรรดาญาติมิตรสหายคนที่รักจะนำร่างที่ไร้ซึ่งลมหายใจไปประกอบตามพิธีกรรมความเชื่อของศาสนาพุทธ
โดยการนำร่างของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วไปทำการฌาปนกิจด้วยเปลวเพลิง
ส่วนในชาติตะวันตกนั้นเมื่อญาติมิตรสหายที่รักถึงแก่กรรมก็จะทำไปประกอบพิธีตามหลักศาสนาจากนั้นก็จะนำศพไปฝังในที่ฮวงซุ้ยประจำตระกูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น